วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นย่านลิเภา

ขั้นตอนการทำงาน
ที่
ว/ด/ป
เรื่อง
หมายเหตุ
๑.
๑๗/๐๕/๕๕
คุณครูประจำวิชามอบหมายงานให้
-
๒.
๑๐/๐๖/๕๕
ประชุมกลุ่มแบ่งงาน
-
๓.
๒๕/๐๖/๕๕
รวบรวมและตรวจสอบงาน
-
๔.
๑๕/๐๗/๕๕
เรียบเรียงข้อมูล
-
๕.
๐๒/๐๘/๕๕
ถ่ายภาพท่ารำและนาฏยศัพท์
-
๖.
๒๒/๐๘/๕๕
เตรียมอุปกรณ์จัดฉาก
-
๗.
๒๓/๐๘/๕๕
เริ่มลงมือทำงาน
-
๘.
๒๔/๐๘/๕๕
จัดฉากการแสดงและจัดชุดเครื่องแต่งกาย
-
๙.
๒๕/๐๘/๕๕
เสนอผลงานชุดอิเหนา ตอนรำพึงถึงสามนาง
-
๑๐.
๒๖/๐๘/๕๕
เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
-
๑๑.
-๔/๐๙/๕๕
แก้ไขเอกสาร
-
๑๒.
๐๕/๐๙/๕๕
ส่งเอกสารทั้งหมด
-
แบบบันทึกข้อมูล  ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
บ้านท่าเรือ   หมู่ที่  17
ชื่อข้อมูล    การจักรสานย่านลิเภา
สาระสำคัญพอสังเขป
                       -      การจักสานย่านลิเภา  ย่านลิเภาเป็นศิลปะหัตกรรมที่มีชื่อเสียงอย่างหนึ่งของ
                               ภายใต้โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นงานฝีมือที่มีนานกว่า 100 ปี
                               ย่านลิเภาเป็นพืชที่ขึ้นในที่ชื้น  เปลือกลำต้นเหนียว  มีความทนทาน ชาวบ้าน
                               จึงนำมาสานเป็นเครื่องใช้สอย  เช่น  กระเป๋าถือ  กระเป๋าสะพาย  ตะกร้า
                               เป็นต้น
                       -      การลงทุนหวาย (เล็ก)  นำมาจากบนเขา กิโลละ  20 – 30  บาท ซื้อลิเภา (สี
                               แดง)  ร้อยละ  30 – 40 บาท  ซื้อลิเภา  (สีดำ)  ร้อยละ  25  บาท  (แต่บ้างครั้ง
                               ชาวบ้านก็ออกหากันเอง)   การลงทุนแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับการหาหวาย
                                ของชาวบ้าน
                         -       รายได้ที่เข้ามาแต่ละเดือน  ประมาณเดือนละ  1,500  บาท  จะมีพ่อค้าคน
                                 กลางเข้ามารับซื้อเพื่อไปขายต่อ  ลูกละประมาณ  100 – 120  บาท

สถานที่ตั้ง
ชื่อ     นางวัน    ส่งกล
เลขที่    281    หมู่ที่   17     ซอย    -      ถนน     -
ตำบล    ท่าเรือ    อำเภอ     เมือง    จังหวัด   นครศรีธรรมราช
รหัสไปรษณีย์    80000       หมายเลขโทรศัพท์   089 – 6475175
หมายเลขโทรสาร   -
ที่อยู่ email /web ………………………………………………
ย่านลิเภา
ชื่อโครงงาน                          ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้  ย่านลิเภา
ประเภทโครงงาน             เครื่องใช้ ,  ของประดับตกแต่ง
ชื่อผู้เสนอโครงงาน          นางสาวกวินธิดา  ประคัลภ์พงศ์   นางสาวสุวนันท์  แซ่ลิ้ม
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน     อาจารย์พรทิพย์ มหันตมรรค
แนวคิดที่มาและความสำคัญ     
ในปัจจุบันนี้  เด็กๆ และเยาวชนรวมถึงผู้ใหญ่ในสังคมภาคใต้  ไม่ค่อยมีอาชีพเป็นหลักแหล่ง และไม่ค่อยเห็นคุณค่าของ หัตถกรรมพื้นบ้านนัก  ดิฉันและเพื่อนมีความสนใจอยากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับของพื้นบ้าน คือ  ย่านลิเภา  เพราะเห็นว่ามีอยู่น้อยคนที่จะทำประกอบอาชีพได้      

                                         วัตถุประสงค์                           

1. เพื่อศึกษาวิธีการทำ  ย่านลิเภา
2. ศึกษาอุปกรณ์การทำ  ย่านลิเภา
3. เพื่อศึกษาประวัติที่มาการทำ  ย่านลิเภา

                         หลักการและทฤษฎี                   
      เครื่องจักสานย่านลิเพา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด โดยสันนิษฐานว่าเริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่สมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า เจ้าเมืองนครได้เคยนำถวายเจ้านายในกรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งที่ดำรงตำแหน่งพระยาสุขุมนัย วิปัตสมุนเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชได้ฟื้นฟูส่งเสริมจนงานจักสานย่านลิเภาเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร
ต่อมา ได้มีการฟื้นฟูครั้งสำคัญอีก 2 ครั้ง ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการประกวดการสานย่านลิเพา และใน พ.ศ. 2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้สอนการสานย่านลิเพาในโครงการศิลปาชีพ มีการพัฒนารูปแบบได้อย่างสวยงามประณีตเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และทั่วประเทศ ภาชนะที่ชาวนครโบราณทำด้วยย่านลิเพานั้น มีตั้งแต่กระเซอ กุมหมาก กล่องยาเส้น พานเชี่ยนหมาก ปั้นชา กล่อง ขันดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน
ปัจจุบันงานจักสานย่านลิเพา นับเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันเชิดหน้าชูตาของชาวนครไม่น้อยไปกว่างานหัตถกรรมลือชื่อแขนงอื่น ๆ ไม่ว่าเครื่องถม การแกะหนังตะลุง หรือผ้ายก งานจักสานย่านลิเพาะในปัจจุบันนี้มิใช่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอยประจำวันดังเช่นในสมัยก่อนเสียแล้ว แต่ได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นของสวยงามที่มีค่าส่ำหรับเป็นของฝากหรือของที่ระลึกที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ผู้เป็นเจ้าของอย่างยิ่ง
ย่านลิเพา เป็นพืชพันธุ์ไม้เถาจำพวกเฟิร์น ลักษณะต้นเป็นพุ่ม มีเถาเลื้อยเกาะไปตามต้นไม้อื่น ใบสีเขียวชอบขึ้นในที่ลุ่มหรือตามเชิงเขาที่มีน้ำขัง และอากาศชื้น พบมากในภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และนราธิวาส
ผลิตภัณฑ์ย่านลิเพาเป็นงานหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์พิเศษของภาคใต้สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปีมาแล้ว ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ย่านลิเพาเป็ฯที่นิยมทำกันมากในสำนักของเจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งครั้งหนึ่งเคยนำเข้าถวายเจ้านายในกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน มีการนำย่านลิเพามาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ เหมาะสมที่จะใช้งานตามยุคสมัย เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น กระเป๋า และเครื่องใช้ต่าง ๆ มีการพัฒนารูปแบบทำเป็นกระเป๋าถือเหลี่ยมทองหรือประกอบถมเงินหรือถมทอง จนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชิดหน้าชูตาอย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช
       ขอบเขตของโครงงาน                 
         โครงงานนี้เป็นการศึกษากลุ่มจักสานย่านลิเพาของหมู่ 4, 5 และ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                                   ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน      
1. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมากลุ่มจักสานย่านลิเพา หมู่ 4, 5 และ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. สำรวจกลุ่มจักสานย่านลิเพา หมู่ 4, 5 และ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. สัมภาษณ์กลุ่มจักสานย่านลิเพา
4. บันทึกภาพรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานย่านลิเพา
                                                             สถานที่ไปทำโครงงาน               
   หมู่  4, 5 และ 6 และหมู่17ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ย่านลิเภา)

              ประวัติความเป็นมา
                  ศึกษากรณีเครื่องจักสานย่านลิเพา ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สิ่งที่เราร่วมกันสมมติเรียกมันว่า ภูมิปัญญานั้น โดยธรรมชาติของมันจะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็น กระบวนการ” (มรรค หรือ means) ที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญา และส่วนที่เป็น เนื้อหาสาระ” (ผล หรือ ends) ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงเรื่องภูมิปัญญา คำถามแรกที่ควรถามตัวเองคือ เราควรสนใจและให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาในส่วนที่เป็น กระบวนการหรือส่วนที่เป็นเนื้อหามากกว่ากัน การแลเห็นกระบวนการหรือกระแสการปฏิสนธิของภูมิปัญญาย่อมเห็นส่วนที่เป็นวิถีและพลังของความมีและความเป็นภูมิปัญญา แต่การมองเห็นเนื้อหาของภูมิปัญญาเป็นการเห็นในเชิงกายภาพ เห็นรูปลักษณ์ของผลผลิต แต่ถึงกระนั้นผลผลิตจากกระบวนการแห่งภูมิปัญญาก็ยังน่าพิสมัยกว่าผลผลิตจากเครื่องจักรหรือเครื่องพิมพ์แบบตามระบบอุตสาหกรรม เพราะผลผลิตจากภูมิปัญญายังมีอัตลักษณ์เฉพาะชิ้นต่างกันไปตามระดับจิตวิญญาณและน้ำมือของผู้ปั้นแต่งที่ไม่เป็นการถอดแบบเดิมแม้แต่เพียงชิ้นเดียว เพราะโครงสร้างและกระบวนการปฏิสนธิทางภูมิปัญญาแตกต่างกับโครงสร้างและกระบวนการทางอุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง และอันนั้นคือ ข้อดีและเสน่ห์ของภูมิปัญญา ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาของไทยหรือของเทศ ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญายุคกรรไตรหัวหงส์หรือยุคโลกาภิวัฒน์
กระบวนการปฏิสนธิของภูมิปัญญาไม่ว่าจะเกิดจากความสามารถพิศษของผู้มีสติปัญญาสูงหรือเกิดจากการลองผิดลองถูกของคนสามัญ หรือได้ประจักษ์ด้วยเหตุบังเอิญก็ตาม ล้วนต้องอาศัยปัจจัยหรือสภาพเก่า อาศัยความรู้และภูมิปัญญาเก่าเป็นตัวหล่อเลี้ยงและเชื่อมต่อ (สนธิ) และ/หรือเป็นทางข้าม (มรรค) ดังนั้น สภาพอันเป็นพื้นภูมิเดิมซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหรือฐานราก ทำให้เห็นข้อจำกัดที่กำลังเผชิญอยู่และต้องเผชิญต่อ ๆ ไป และเห็นอาการป่วยของสังคมเดิม เห็นสิ่งที่ที่ต้องหลีกเลี่ยงเยียวยา และแลกเห็นความจำเป็นที่จะต้องเสาะหา ภูมิปัญญาใหม่ หายาตัวใหม่มาเยียวยาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้นให้บรรเทาหรือหมดไป การสร้างภูมิปัญญาจึงเป็นเสมือนการหาหนทางข้ามวังวนแห่งความทุกข์ยาก โดยที่ตนยังพึงใจที่จะว่ายวนอยู่ในพื้นภูมิเดิม ซึ่งต่างกับกระบวนการหาทางเข้ามชาติของพระอริยบุคคลที่ต้องการหาทางข้ามชาติโดยปล่อยวางชาติและภพเดิม ไปสู่ชาติใหม่และภพใหม่ด้วย เหตุนี้ภูมิปัญญาของชาวบ้านจึงเป็นการปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้สามารถอยู่ได้และอยู่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไม่ใช่ทิ้งบ้านเก่าไปหาบ้านใหม่
เป็นที่รู้เห็นกันได้ทั่วไปว่า ยาวิเศษที่ปราชญ์ชาวบ้านเสาระหาเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือภูมิปัญญาใหม่จะอยู่บนฐานประโชน์ของมหาชนมากกว่าฐานประโยชน์ของปัจเจกชนและคุณสมบัติของยาวิเศษที่ได้ชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น จำแนกได้เป็น 2 สรรพคุณ ได้แก่ เครื่องยาไส้และเครื่องยาใจ
ภูมิปัญญาประเภทที่เป็นเครื่องยาไส้ เป็นภูมิปัญญาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพหรือทางกายภาพอันเป็นฐานทางเศรษฐกิจหรือเศรษฐทรัพย์ ส่วนภูมิปัญญาที่เป็นประเภทเครื่องยาใจหรือสมานใจ เป็นภูมิปัญญาประเภทช่วยปรุงแต่งคุณค่าด้านจิตวิญญาณของความเป็นคน เป็นภูมิปัญญาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและงอกงามเป็นทุนทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ภูมิปัญญาประเภทยาไส้และประเภทยาใจต่างก็มีความสำคัญด้วยกันแต่ไม่เสมอกัน ต้องมีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่างกันตามแต่กาละเทศะ สภาพของชุมชนและแล้วแต่ละเรื่อง ๆ ไป เช่น ชุมชนปฐมฐานจำเป็นต้องเร่งเสาะสร้างภูมิปัญญาประเภทยาไส้เป็นสำคัญและต้องรีบขยายผลเป็นเครื่องยาแผลทางกายภาพทุกองคาพยพ เป็นภูมิปัญญาที่ต้องผ่านการลองผิดลองถูก การพิสูจน์ซ้ำ การปฏิบัติซ้ำ จนกว่าจะได้ข้อสรุปเป็นสมมติฐานและทดลองกันต่อไป อาจหลายชั่วอายุคน เช่น การค้นพบคัมภีร์ ขันธวิภังคินีอันเป็นตำราทางสรีรศาสตร์สัมพันธ์กับกายภาพและทฤษฎีธาตุสี่ และทฤษฎีอายุรศาสตร์ของการแพทย์แผนโบราณ และแผนปัจจุบัน ภูมิปัญญาประเภทยาไส้ย่อมคลุมถึงบทบาทหน้าที่เยียวยาอาการป่วยไข้อันเนื่องจากต้องรู้จักคุมร้อนคุมหนาว กันลมกันแดด กันฝน สร้างความอบอุ่นสมดุลแก่ร่างกายจนเกิดเป็นภูมิปัญญาด้านเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย จนกระทั่งเลยไปถึงให้มีรูปดีรูปงามอันเป็นภูมิปัญญาการใช้เครื่องประดับ ปิลันธนาการศัสตราวุธและศัสตราภรณ์ เป็นต้น ส่วนภูมิปัญญาประเภทเครื่องยาใจ เป็นยาแก้โรค หฤทัยทุกข์และยาบำรุงจิตวิญญาณ มีโครงสร้างเป็นเชิงซ้อน เพราะมีตัวแปรและตัวแทรกซ้อนมากมาย เช่น จริต อุดมคติ อวิชา จารีต อคติ อารมณ์ ฯลฯภูมิปัญญาประเภทเครื่องยาใจจึงมักผนวกด้วยคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมและกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นภูมิปัญญาแห่งความเอื้ออาทรต่อสำนึกส่วนรวมมากกว่าสำนึกส่วนตน โดยอาศัยปรัชญาที่ว่า ความอยู่ได้อยู่ดีของปัจเจกชน ย่อมเกิดจากกความอยู่ได้อยู่ดีของโลก ส่วนความอยู่เด่นของปัจเจกชนคือความหายนะของโลก ความสมดุลอันเนื่องด้วยภูมิปัญญา

            เครื่องจักสานย่านลิเพา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด โดยสันนิษฐานว่าเริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่สมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า เจ้าเมืองนครได้เคยนำถวายเจ้านายในกรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งที่ดำรงตำแหน่งพระยาสุขุมนัย วิปัตสมุนเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชได้ฟื้นฟูส่งเสริมจนงานจักสานย่านลิเภาเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร
ต่อมา ได้มีการฟื้นฟูครั้งสำคัญอีก 2 ครั้ง ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการประกวดการสานย่านลิเพา และใน พ.ศ. 2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้สอนการสานย่านลิเพาในโครงการศิลปาชีพ มีการพัฒนารูปแบบได้อย่างสวยงามประณีตเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และทั่วประเทศ ภาชนะที่ชาวนครโบราณทำด้วยย่านลิเพานั้น มีตั้งแต่กระเซอ กุมหมาก กล่องยาเส้น พานเชี่ยนหมาก ปั้นชา กล่อง ขันดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน
ปัจจุบันงานจักสานย่านลิเพา นับเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันเชิดหน้าชูตาของชาวนครไม่น้อยไปกว่างานหัตถกรรมลือชื่อแขนงอื่น ๆ ไม่ว่าเครื่องถม การแกะหนังตะลุง หรือผ้ายก งานจักสานย่านลิเพาะในปัจจุบันนี้มิใช่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอยประจำวันดังเช่นในสมัยก่อนเสียแล้ว แต่ได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นของสวยงามที่มีค่าส่ำหรับเป็นของฝากหรือของที่ระลึกที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ผู้เป็นเจ้าของอย่างยิ่ง
ย่านลิเพา เป็นพืชพันธุ์ไม้เถาจำพวกเฟิร์น ลักษณะต้นเป็นพุ่ม มีเถาเลื้อยเกาะไปตามต้นไม้อื่น ใบสีเขียวชอบขึ้นในที่ลุ่มหรือตามเชิงเขาที่มีน้ำขัง และอากาศชื้น พบมากในภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และนราธิวาส
ผลิตภัณฑ์ย่านลิเพาเป็นงานหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์พิเศษของภาคใต้สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปีมาแล้ว ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ย่านลิเพาเป็ฯที่นิยมทำกันมากในสำนักของเจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งครั้งหนึ่งเคยนำเข้าถวายเจ้านายในกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน มีการนำย่านลิเพามาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ เหมาะสมที่จะใช้งานตามยุคสมัย เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น กระเป๋า และเครื่องใช้ต่าง ๆ มีการพัฒนารูปแบบทำเป็นกระเป๋าถือเหลี่ยมทองหรือประกอบถมเงินหรือถมทอง จนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชิดหน้าชูตาอย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช


                                        แหล่งที่มาของย่านลิเพา
          โดยทั่วไปย่านลิเพาจะขึ้นอยู่ตามป่าแต่ที่พบมากจะพบมากในเขตทางตอนใต้ของประเทศ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล เป็นต้น

                 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเครื่องจักสานย่านลิเพา
         วัสดุ  ลิเพา มี 2 ชนิด คือ สีดำและน้ำตาล โดยเฉพาะสีน้ำตาลจะมีอยู่
2 แบบ คือ สีน้ำตาลอมแดง และสีน้ำตาลอมเหลือง
ลาน >> เป็นส่วนใช้ประกอบในการทำลวดลายบริเวณขอบหรือหู
ผลิตภัณฑ์
หวาย >> ใช้ประกอบเป็นหูหิ้วและขอบโครง เช่น โครงของพัดใบโพธิ์
ไม้ไผ่ >>ใช้ทำซี่กระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะใช้เป็นเส้นยืนให้เกิด
ลวดลาย เช่น พัด 
ไม้เนื้ออ่อน >>ใช้ประกอบเป็นรูปทรงกระเป๋า หรือผลิตภัณฑ์รูปแบบ


                                                     อุปกรณ์ 
          มีด ใช้ในการขูดเส้นของย่านลิเพาเพื่อให้ได้ตามความต้องการ
เหล็กแหลม (เข็ม) ใช้เจาะรูที่โครงกระเป๋าเพื่อเสียบซี่ไม้ไผ่และช่วยในการ
ขัดลาย
แผ่นโลหะเจาะรู ใช้เป็นอุปกรณ์ในการขูดเกลาให้ย่านลิเพาและไม้ไผ่ที่ใช้ในการ
ทำผลิตภัณฑ์มีขนาดเท่าเทียมกัน
ปลอกนิ้ว ทำด้วยผ้าหนา ๆ ใช้สวมนิ้วเวลาขูดย่านลิเพา
กาวลาเท็กซ์ ใช้ทาเส้นลิเพาให้ยึดติดกับโครงแบบที่จะทำหรือใช้ติดยึดส่วน
ประกอบของกระเป๋า

                                   ขั้นตอนและวิธีการผลิตย่านลิเพา
                  ขั้นตอนที่ 1 การทำโครงสร้างของแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นแบบเบื้องต้นมี 2 วิธี คือ
1. การทำโครงแบบเสียบซี่ ทำได้โดยการนำไม้เนื้ออ่อน (โดยทั่วไปนิยมไม้ตีนเป็ด) มาประกอบเป็นรูปทรงกระเป๋าหรือรูปทรงอื่น ๆ แล้วจึงใช้เหล็กปลายแหลมเจาะรูที่ขอบเนื้อไม้ที่ใช้เป็นแบบ จากนั้นจึงนำไม้ไผ่ซี่เล็ก ๆ ที่เตรียมไว้เสียบเข้าไปในรูที่เจาะไว้ (ขั้นตอนการเสียบซี่ไม้ไผ่ทำได้โดยการนำไม้ไผ่มาลอกเป็นแผ่นบาง ๆ จัดตอกเส้นเล็ก ๆ โดยการเหลาและชักเลียด ขนาดของไม้ไผ่ที่ทำออกมาจะมีผลต่อความสวยงามของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป ถ้าซี่ไม้ไผ่เล็กเมื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จะสวยงาม แต่ถ้าซี่ไม้ไผ่ใหญ่เมื่อนำมาทำจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นดูหยาบ ๆ)

2. การทำโครงด้วยวิธีการกลอง ทำได้โดยการนำด้ายมาผูกเป็นเส้นขนาน 2 เส้น โดยแต่ละเส้นจะผูกเป็นเส้นคู่ ความกว้างของเส้นด้านคู่ขนานที่ผูกขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก แล้วจึงนำซี่ไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางบนด้ายที่ขึงไว้ทีละซี่โดยแต่ละซี่จะเชือกที่ขึงไว้ขวั้นให้ซี่ไม้ไผ่ยึดติดกับด้ายจนได้ขนาดความยาวที่ต้องการ นำไม้ไผ่เส้นบางความยาวเท่ากับขนาดของกระเป๋ามาทำเป็นขอบนและขอบล่างใช้กาวลาเท็กซ์ทาให้ติดกับซี่ที่กรองไว้เป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ โดยการทำโคลงด้วยวิธีการกรองจะจำกัดรูปทรงของผลิตภัณฑ์คือ จะเป็นทรงกลมหรือทรงเหลี่ยมธรรมดาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการเตรียมย่านลิเพา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1. การปอก เลือกย่านลิเพาที่ได้ขนาดแล้วโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 1.5 เมตร นำมาปอก ซึ่งย่านลิเพาเส้นหนึ่งจะปอกออกเป็น 3 ส่วน หรือ 4 ส่วนก็ได้ โดยปอกเอาที่เป็นเลือกมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ ส่วนที่เป็นไส้เอาทิ้งไป เพราะไส้ในของย่านลิเพาจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ไม่ได้ ส่วนที่นำมาใช้คือส่วนเปลือกเมื่อปอกเสร็จ จึงนำมาขูดด้วยมีดทั้งด้านนอกและด้านในข้างละ 1 ครั้งก่อน

2. การชักเลียด เพื่อให้ขนาดของลิเพาที่ปลอกออกมาแล้วมีขนาดเท่ากัน จึงนำลิเพาที่ปอกเป็นเส้น ๆ แล้วนำไปชักเลียด เพื่อขูดเกลาให้เส้นลิเพามีขนาดเท่า ๆ กัน โดยวัสดุที่นำมาทำเป็นอุปกรณ์การชักเลียด คือ แผ่นโลหะบาง ๆ หรือฝากระป๋องนำมาเจาะไว้เป็นรูเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ นำย่านลิเพาที่เจาะแล้วสอดเข้าไปในรูที่เจาะไว้แล้วดึงผ่านจากโคนถึงปลายก็จะทำให้ขนาดของย่านลิเพาเรียบและมีขนาดเท่ากัน (การทำผลิตภัณฑ์ย่านลิเพานี้จะชักเลียดหรือไม่ก็ได้ แต่ผลที่ออกมาจะแตกต่างกัน การชักเลียดเป็นองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผลงานออกมาสวยงามและปราณีต)

3. การขูด นำย่านลิเพาที่ผ่านการชักเลียดแล้วมาขูดด้วยมีดคม ๆ ทั้ง 2 ด้าน คือ ขูดทั้งด้านในที่ติดกับไส้และด้านนอก โดยขูดสลับกลับไปกลับมาให้ลิเพาเป็นมันและเหนียว

4. การสาน นำเส้นลิเพาที่ขูดจนเส้นเป็นมันและเหนียวแล้ว นำไปขัดกับตัวกระเป๋าที่เราเสียบซี่ไม้ไผ่เอาไว้เรียบร้อยแล้ว นำย่านลิเพามาขัดหรือยกให้เกิดลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายไทย
ลายคชกริช เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือลายไทยและลวดลายประยุกต์

แหล่งผลิตหัตถกรรมย่านลิเภา
        แหล่งผลิตหัตกรรมย่านลิเภาอยู่ที่บ้านหมน  ตำบลท่าเรือ  สามารถชมผลิตภัณฑ์ได้ที่ศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านนครศรีธรรมราช  ข้างโรงเรียนวัดหมนเปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์


                     วิธีการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากย่านลิเพา
1. อย่าให้ถูกแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ผลิตภัณฑ์ดูเก่าเร็ว
2. ถ้าผลิตภัณฑ์ชำรุดโดยมีเส้นลิเพาหลุดออกมาให้ใช้กาวลาเท็กซ์ทาที่ลิเพาเส้นที่หลุดปิด
ทับไว้ตามเดิม แล้วทาแล็คเกอร์ทับอีกครั้ง
3. ผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้นาน จะดูเก่าให้ทำความสะอาดฝุ่นที่ติดหรือคราบสกปรกออกให้หมดโดยการเอาผ้าชุบน้ำบิดให้พอหมาด ๆ แล้วเช็ดที่ตัวผลิตภัณฑ์ และทาแล็คเกอร์ทับอีกครั้งหนึ่ง
4. อย่ากระแทกผลิตภัณฑ์แรง ๆ หรือวางของหนัก ๆ ทับ เพราะจะทำให้ผลิตภัณฑ์ชำรุดและใช้ได้ไม่นาน
จากการศึกษาการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มจักสานย่านลิเพาของศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน พบว่าประชาชนในตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนที่มีแบบความสัมพันธ์ระหว่างกันในชุมชนแบบใกล้ชิด คนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีโอกาสช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีปัจจัยที่มีผลต่อสภาพสังคมหลายประการด้วยกัน คือ
1. สภาพทางกายของชุมชน ชุมชนในตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนที่อยู่ในที่ราบ มีช่องทางในการทำมาหากินไม่มาก โอกาสที่จะขัดสนในการครองชีพจึง มีเสมอ การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่กันซึ่งมีสูง ความผูกพันธ์ของคนในชุมชนมีมากและเกิดขึ้นอยู่เสมอ
2. การประกอบอาชีพในชุมชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและหาปลาขาย เมื่อมีเวลาว่างจึงมีการรวมตัวกัน
3. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง การสร้างที่อยู่อาศัย และที่ทำกินจึงกระตุกตัวเป็นหย่อม ๆ ทำให้คนในชุมชนมีความใกล้ชิด เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงานก็จะรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องต่าง ๆ กันเสมอ และมีโอกาสในการทำกิจกรรมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4. ลักษณะประชากร คนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดโดยระบบญาติ มีลักษณะเอื้ออาทรกัน


                                                                 วิธีการถ่ายทอด
1. เรียนรู้ต่อจากสมาชิกในกลุ่มที่มีความชำนาญอยู่แล้ว
2. ประชุมปรึกษาหารือ เรียนรู้ร่วมกัน
3. วิทยากรจากพัฒนาชุมชน การท่องเที่ยวจังหวัดมาให้ความรู้ถ่ายทอดวิทยาการ รูปแบบการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เช่น ลวดลาย
4. สร้างเครือข่ายโดยถ่ายทอดให้เยาวชนตามโรงเรียนต่าง ๆ เช่น โรงเรียนชุมชนวัดหมน โรงเรียนวัดจังหูน และโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
ศักยภาพกลุ่มจักสานย่านลิเพา ของตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเกิดจากความเต็มใจตั้งใจของสมาชิกที่รวมกลุ่มเรียนรู้ ทุ่มเทให้กับความร่วมมือกับกลุ่ม รวมทั้งวิทยากร และส่วนกรรมการ องค์การต่าง ๆ ที่เข้ามาให้การสนับสนุนทำให้ผลงานของกลุ่มเป็นที่ยอมรับและการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มมีมากขึ้น



                                                กลยุทธ์ด้านราคา
          เนื่องจากลูกค้ามีทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ทุกวัย จึงต้องผลิตราคาให้ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพและทุกวัย
สามารซื้อได้ โดยมีตั้งแต่ 30 บาท – 50,000 บาท
                                       กลยุทธ์ด้านช่องทางจำหน่าย
1. จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้า โรงแรมในจังหวัด ต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
2.
ร้านสินค้า OTOP ในจังหวัดและต่างจังหวัด
3
. พัฒนาพนักงานขายให้บริการลูกค้าอย่างประทับใจทั้งบุคลิก มีกลยุทธ์การขายที่ดึงดูดใจลูกค้า

                                        กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการขาย
1. ได้รับการสนับสนุนประชาสัมพันธ์การขายโดยการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ท้องถิ่น
2. แจกแผ่นพับและนามบัตร
3
. ลงเว๊ปไซด์
วิเคราะห์และการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของย่านลิเภา
ย่านลิเภาในอดีต
                       ในอดีตชาวบ้านจะต้องออกไปหาลำต้นของย่านลิเภาเอง  ชาวบ้านจะออกไปหาตามเขาและในป่า   เพราะลำต้นของย่านลิเภาจะมีอยู่เยอะในธรรมราช  โดยชาวบ้านจะรวมกลุ่มกันไปหา  และเมื่อหามาเสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปขายกับพ่อค้าคนกลาง
                        เบ้าของย่านลิเภาเมื่อก่อนจะมีอยู่ตามเสาของบ้าน  และเมื่อสานย่านลิเภาเสร็จแล้ว  จะนำย่านลิเภาไปทาน้ำยางใส่เพื่อป้องกันมอดและแมลงบ้างชนิดกัดกิน
ย่านลิเภาในปัจจุบัน
                        ปัจจุบันลำต้นของย่านลิเภาหาได้ยาก  ชาวบ้านก็เลยรับซื้อย่านลิเภาพ่อค้าที่นำย่านลิเภามาขาย  การลงทุน หวายเล็ก  นำมาจากบนเขา  กิโลละ  20 – 30  บาท ซื้อลิเภา (สีแดง)ร้อยละ  30 – 40 บาท (สีดำ) ร้อยละ  25  บาท (แต่บ้างครั้งชาวบ้านก็ออกหากันเอง)  การลงทุนแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับการหาหวายของชาวบ้าน  และย่านลิเภาเมื่อเสร็จแล้ว  ปัจจุบันจะนิยมใช้แล็คเกอร์ใสหรือแล็คเกอร์ด้าน  และจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อใบละ  100 – 120 บาท
ย่านลิเภาในอนาคต
                     กระเป๋าย่านลิเภาอาจจะมีราคาสูงขึ้นและหาได้ยากเพราะวัสดุที่ใช้ทำย่านลิเภาหาได้ยากกว่าปัจจุบัน


ผลประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รู้   
       ผลประโยชน์ที่กลุ่มและสมาชิกได้รับจากยอดจำหน่ายของกลุ่มในแต่ละเดือน กลุ่มมีรายได้ประมาณเดือนละ 100,000 – 150,000 บาท ซึ่งจากยอดจำหน่ายดังกล่าวทำให้กลุ่มมีกำไรแต่ละเดือนโดยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
เมื่อสิ้นปีกลุ่มจะทำงานแสดงกำไร-ขาดทุน และงบดุลทางบัญชีของกลุ่มไว้ ผลกำไรสุทธิที่ได้ กลกุ่มจะกันไว้เป็นทุนต่าง ๆ ตามข้อบังคับกลุ่มดังนี้
ทุนสำรอง 20%
ทุนสาธารณะ 10%
ทุนขยายกิจการ 5%
เฉลี่ย 5% ให้กับสมาชิกที่นำผลิตภัณฑ์มาขายกับกลุ่มและนำผลิตจากกลุ่มไปขาย
ปันผล 60% จะปันผลให้กับสมาชิกที่ลงหุ้นไว้กับกลุ่มตามที่แต่ละคนถืออยู่


เอกสารอ้างอิง             www.google.com

                                                                                                        นางสาวสุวนันท์  แซ่ลิ้ม
                                                                                                        นางสาวกวินธิดา  ประคัลภ์พงศ์
                                                                                                       



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น